วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ประวัติและกติกา กีฬาฟุตบอล


   ฟุตบอล  เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกฟุตบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก

โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่ประตูได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ

โดยกฎกติการการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดยสมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2406 ได้กำเนิดLaws of the Gameเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่า ซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี


กติกาการเล่นฟุตบอล
ผู้เล่น อุปกรณ์ และกรรมการ

ในแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นสูงสุด 11 คนที่สามารถลงเล่นในสนาม โดยสามารถมีผู้เล่นสำรองสามารถนั่งเพื่อรอเปลี่ยนตัว โดยในสิบเอ็ดคนนั้นจะต้องมี ผู้รักษาประตูหนึ่ง คน ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีกติกาเพิ่มว่าจะต้องมีผู้เล่นอย่างน้อย 7 คน เพื่อทำการแข่งขันได้ โดยผู้เล่นทุกคนยกเว้นผู้รักษาประตู ไม่สามารถใช้มือหรือแขนสัมผัสลูกฟุตบอลได้

อุปกรณ์หลักในการเล่นฟุตบอล โดยลูกฟุตบอลจะต้องมีขนาดที่ได้มาตรฐานเป็นทรงกลม มีขนาดเส้นรอบวงไม่เกิน 27-28 นิ้ว และน้ำหนัก 396 – 453 กรัม ผู้เล่นต้องมีการใส่ชุดที่ประกอบไปด้วย เสื้อ กางเกง ถุงเท้า รองเท้า และสนับแข้ง โดยต้องไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจเป็นอันตรายได้ไม่ว่า อัญมณีหรือนาฬิกา และผู้รักษาประตูต้องใส่ชุดที่แตกต่างจากผู้เล่นผู้อื่น และแตกต่างจากกรรมการเช่นกัน [5] จากฟีฟ่า

ระหว่างการเล่น ผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวกับตัวสำรองได้โดยในการแข่งขันทั่วไปสามารถเปลี่ยน ตัวในแต่ละนัดการแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยสาเหตุในการเปลี่ยนตัวอาจเกิดจาก การบาดเจ็บ ความเหนื่อยล้า หรือเปลี่ยนแผนการเล่น โดยผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกแล้วไม่สามารถเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้อีกใน นัดนั้น

กรรมการจะเป็นบุคคลที่มีหน้าที่ตัดสินผลการแข่งขัน รวมถึงควบคุมและจับเวลาการแข่งขัน โดยในการแข่งขันจะมีผู้ช่วยกรรมการ 2 คน
สนามฟุตบอล
สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน

สนามฟุตบอลมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี ความยาวระหว่าง 100-110 เมตร และความกว้างระหว่าง64-75. เมตร โดยเส้นขอบสนามของด้านยาวจะเรียกว่า "เส้นข้าง" ขณะที่ขอบสนามของด้านกว้างจะเรียกว่า "เส้นประตู" โดยคานประตูจะตั้งอยู่กึ่งกลางบนเส้นประตู โดยมีความสูง 2.44 เมตร (8 ฟุต) เหนือจากพื้นดิน และเสาประตูจะห่างกัน 7.3 เมตร (8 หลา) เสาและคานประตูจะต้องมีสีขาว ตาข่ายจะมีการขึงด้านหลังประตู แต่อย่างไรก็ตามตาข่ายประตูไม่ได้มีกำหนดไว้ในกติกาสากล

ด้านหน้าประตูจะเป็นบริเวณเขตโทษ ซึ่งแสดงถึงบริเวณที่ผู้รักษาประตูสามารถถือบอลได้ และยังคงใช้ในการเตะลูกโทษ
ระยะเวลาการแข่งขัน

การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองครึ่ง โดยครึ่งละ 45 นาที โดยเวลาการแข่งขันจะมีการนับตลอดเวลา แม้ว่าฟุตบอลจะถูกเตะออกนอกสนามและกรรมการสั่งให้หยุดเล่นก็ตาม ระหว่างครึ่งจะมีเวลาพักให้ 15 นาที กรรมการจะเป็นคนควบคุมเวลา และจะทำการทดเวลาบาดเจ็บในช่วงท้ายของแต่ละครึ่งเพื่อทดแทนเวลาที่เสียไป ระหว่างการเล่น โดยเมื่อจบการแข่งขันกรรมการจะทำการเป่านกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน

ในการแข่งขันแบบลีก จะมีการจบการแข่งขันสำหรับผลเสมอ แต่สำหรับการแข่งขันที่ต้องรู้ผลแพ้ชนะจะมีการต่อเวลาพิเศษ ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยถ้าคะแนนยังคงเสมอกันจะมีการให้เตะลูกโทษ

ไอเอฟเอบีได้ทดลองการกำหนดรูปแบบการทำคะแนนในช่วงต่อเวลาที่เรียกว่า โกลเดนโกล โดยทีมที่ทำประตูได้ก่อนในช่วงต่อเวลาจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน และ ซิลเวอร์โกล โดยทีมที่ทำประตูนำเมื่อจบครึ่งเวลาแรกจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน โดยโกลเดนโกลได้ถูกนำมาใช้ใน ฟุตบอลโลก 1998 และ ฟุตบอลโลก 2002 โดยมีการใช้ครั้งแรกในการแข่งขันทีมชาติฝรั่งเศส ชนะ ปารากวัย ในปี 1998 ขณะที่ซิลเวอร์โกลได้มีการใช้ครั้งแรกในฟุตบอลยูโร 2004 ซึ่งปัจจุบันโกลเดนโกล และซิลเวอร์โกลไม่มีการใช้แล้ว



สนามฟุตบอล
สนามฟุตบอลและขนาดมาตรฐาน
สนามฟุตบอลมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวระหว่าง 100-110 เมตร และความกว้างระหว่าง 64-75 เมตร โดยเส้นขอบสนามของด้านยาวจะเรียกว่า "เส้นข้าง" ขณะที่ขอบสนามของด้านกว้างจะเรียกว่า "เส้นประตู" โดยคานประตูจะตั้งอยู่กึ่งกลางบนเส้นประตู โดยมีความสูง 2.44 เมตร (8 ฟุต) เหนือจากพื้นดิน และเสาประตูจะห่างกัน 7.3 เมตร (8 หลา) เสาและคานประตูจะต้องมีสีขาว ตาข่ายจะมีการขึงด้านหลังประตู แต่อย่างไรก็ตามตาข่ายประตูไม่ได้มีกำหนดไว้ในกติกาสากล
ด้านหน้าประตูจะเป็นบริเวณเขตโทษ ซึ่งแสดงถึงบริเวณที่ผู้รักษาประตูสามารถถือบอลได้ และยังคงใช้ในการเตะลูกโทษ


ระยะเวลาการแข่งขัน
การแข่งขันจะแบ่งออกเป็นสองครึ่ง โดยครึ่งละ 45 นาที โดยเวลาการแข่งขันจะมีการนับตลอดเวลา แม้ว่าฟุตบอลจะถูกเตะออกนอกสนามและกรรมการสั่งให้หยุดเล่นก็ตาม ระหว่างครึ่งจะมีเวลาพักให้ 15 นาที กรรมการจะเป็นคนควบคุมเวลา และจะทำการทดเวลาบาดเจ็บในช่วงท้ายของแต่ละครึ่งเพื่อทดแทนเวลาที่เสียไป ระหว่างการเล่น โดยเมื่อจบการแข่งขันกรรมการจะทำการเป่านกหวีดเพื่อหยุดการแข่งขัน
ในการแข่งขันแบบลีก จะมีการจบการแข่งขันสำหรับผลเสมอ แต่สำหรับการแข่งขันที่ต้องรู้ผลแพ้ชนะจะมีการต่อเวลาพิเศษ(ง่ายๆคือการแข่งชิงถ้วย) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 ครึ่ง ครึ่งละ 15 นาที โดยถ้าคะแนนยังคงเสมอกันจะมีการให้เตะลูกโทษ (ด้านการเตะลูกโทษมีคนวิจัยมาว่าทีมไหนเตะก่อนจะมีเปอร์เซนต์การชนะมากกว่าทีมที่เตะทีหลัง)


สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

1.) Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น

2.) America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น

3.) South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น

4. Asia (A.F.C.) เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น

5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

คำอธิบาย: http://www.educatepark.com/story/images/space.gif6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท



ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
  • พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ

  • พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ

  • พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk

  • พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C. และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
  • พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา


สนามแข่งขัน

(The Field of Play)
ขนาดสนาม  (Dimensions)
                สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยความยาวของเส้นข้าง (Touch Line)  ต้องยาวกว่าความยาวของเส้นประตู (goal Line)
                ความยาว                ต่ำสุด      90           เมตร       (100 หลา)            
                                                สูงสุด     120         เมตร       (130 หลา)
                ความกว้าง             ต่ำสุด      45           เมตร       (50    หลา)
                                                สูงสุด     90           เมตร       (100  หลา)
     การแข่งขันระหว่างชาติ
                ความยาว                ต่ำสุด      100         เมตร       (110 หลา)
                                                สูงสุด     110         เมตร       (120  หลา)
                ความกว้าง             ต่ำสุด      64           เมตร       (70  หลา)
                                                สูงสุด     75           เมตร       (80  หลา)


ลูกบอล  (the Ball)
               
คุณลักษณะและหน่วยการวัด (Qualities and Measurements)
                
             ลูกบอลต้อง
1.      เป็นทรงกลม
2.      ทำจากหนังหรือวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม
3.      เส้นรอบวงไม่เกินกว่า 70 เซนติเมตร (28 นิ้ว)  ไม่น้อยกว่า 68 เซนติเมตร (27 นิ้ว)
4.   ในขณะที่เริ่มทำการแข้งขันน้ำหนักไม่เกิน 450 กรัม (16 ออนซ์)  และไม่ต่ำกว่า 410 กรัม (14 ออนซ์)
5.   ความดันลมเมื่อวัดที่ระดับน้ำทะเลเท่ากับ 0.6 - 1. (600 -1100 กรัม/ตร.ซฒหรือ 8.5 -15.6 ปอนด์/ตร.นิ้ว)


จำนวนผู้เล่น

(The Number of Players)

ผู้เล่น
 (Players)
                
การแข่งขัน  เล่นโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 11 คน  และต้องมีคนหนึ่งเป็นผู้รักษาประตู  จะไม่อนุญาตให้ทีมทำการแข่งขัน  ถ้าผู้เล่นทีมใดน้อยกว่า 7 คน
การแข่งขันที่เป็นทางการ(Official Competition)
                ในการแข่งขันที่เป้นทางการภายใต้การดูแลรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ  สหพันธืหรือสมาคมแห่งชาตอ  การเปลี่ยนผู่เล่นทำได้มากที่สุด 3คน
                ระเบียบการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผุ้เล่นสำรองที่ส่งชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าใด จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน




อุปกรณ์การแข่งขันของผู้เล่น

(The Players’ Equipment)

ความปลอดภัย
 (Safety)

ผู้เล่นต้องไม่ใช้อุปกรณ์การเล่น  หรือสวมใส่สิ่งตาง ๆ ที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้เล่นอื่น (รวมทั้งเครื่องประดับต่าง ๆ ทุกชนิด)
           
อุปกรณ์เบื้องต้น (Basic Equipment)
         
   อุปกรณ์ของผู้เล่นที่เป็นข้องบังคับเบื้องต้น คือ
1.                   เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต  (Jersey or Shirt)
2.                   กางเกงขาสั้น (Shorts) ถ้าใส่กางเกงปรับอุณหภูมิ (Thermal) ไว้ภายใน  สีกางเกงชั้นนอก
3.                   ถุงเท้ายาว (Stocking)
4.                   สนับแข้ง (Shinguards)
5.                   รองเท้า (Footwear)


ระยะเวลาของการแข่งขัน

(
The Duration of the Match
)

ช่วงเวลาของการเล่น (
Periods of Play
)


การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง  ครึ่งละ 45 นาทีเท่ากัน ยกเว้นได้มีการพิจารณาตกลงร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ระหว่างผู้ตัดสินกับทีมทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้ง 2ทีม  การตกลงต่าง ๆ ต้องทำการแก้ไขก่อนเริ่มทำการแข่งขันและต้องทำตามระเบียบของการแข่งขันด้วย (ตัวอย่างเช่น การลดเวลาการแข่งขันแต่ละครึ่งเหลือ 40นาที เนื่องจากแสงสว่างไม่เพียงพอ)


พักครึ่งเวลา (
Half-Time Interval
)

1.                  ผู้ล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
2.                  การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
3.                  ระเบียบการแข่งขันต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
4.                   เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสินเท่านั้น

การล้ำหน้า(Offside)

จะไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดถ้าเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น
                ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายตรงข้ามมากกว่าลูกบอลและผู้เล่นคนที่ 2จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
                ผู้เล่นจะไม่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถ้า
1.                  เขาอยู่ในแดนตนเองของสนามแข่งขัน
2.                  เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นคนที่ 2 จากท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม
3.                  เขาอยู่ในแนวเดียวกันกับผู้เล่นทั้ง 2 คน ท้ายสุดของฝ่ายตรงข้าม



ผู้ตัดสิน

(The Referee)

อำนาจและหน้าที่ (The Authority of the Referee)
                การแข่งขันแต่ละครั้งต้องควบคุมโดยผู้ตัดสินซึ่งเขาจะต้องเป็นผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่  ซึ่งมีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน
อำนาจ และหน้าที่ (Poers and Duties)
            
ผู้ตัดสินต้อง

1.ปฏิบัติตามกติกาข้อต่าง ๆ
2.ควบคุมการแข่งขันโดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินคนที่ 4 คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
3.แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 2
4.แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
5.ทำหน้าที่รักษาเวลาการแข่งขัน  และเขียนรายงานการแข่งขัน

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน

(The Assistant Referees)

หน้าที่ (Duties)

                ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โดยเป็นผู้ชี้แนะ  แสดงให้ผู้ตัดสินทราบสิ่งต่าง ๆ ส่วนการตัดสินในเป็นหน้าที่ของผู้ตัดสิน
1.เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านออกจากสนามแข่งขัน
2.ฝ่ายใดได้สิทธิ์ในการเตะจากมุม เตะจากประตู หรือทุ่ม
3.เมื่อผู้เล่นถูกลงโทษฐาน การอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า
4.เมื่อมีการต้องการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
5.เมื่อมีการกระทำผิดหรือมีเหตุการณ์อื่น ๆ เกิดขึ้นโดยที่ผู้ตัดสินไม่เห็น
6.เมื่อผู้เล่นกระทำความผิดกติกาเกิดขึ้นใกล้ผู้ช่วยผู้ตัดสินมากกว่าผู้ตัดสิน (รวมถึงเหตุการณ์กระทำผิดกติกาภายในเขตโทษ)
7.เมื่อมีการเตะโทษ ณ จุดโทษ ผู้ช่วยผู้ตัดสินต้องดูว่าผู้รักษาประตู เคลื่อนออกมาข้างนอกก่อนที่ลูกบอลจะถูกเตะหรือไม่ และต้องดูลูกบอลเข้าประตูหรือไม่

การนับประตู

(The Method of Scoring)

ถือว่าทำประตูได้เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูระหว่างเสาประตูและภายใต้คานประตู  ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องไม่มีการกระทำผิดกติกาการแข่งขันเกิดขึ้นก่อนที่ทีมนั้นจะทำประตูได้

ทีมชนะ (Winning Team)

      ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าในระหว่างการแข่งขันจะเป็นฝ่ายชนะ ถ้าทั้งสองทีมทำประตูได้เท่ากันหรือทำประตูกันไม่ได้  การแข่งขันครั้งนั้นจะถือว่า “เสมอกัน” (DRAW)

ระเบียบการแข่งขัน (Competition Rule)
                
สำหรับการแข่งขันที่จบลงโดยผลเสมอกัน ระเบียบการแข่งขันอาจจะกำหนดรายละเอียดซึ่งเกี่ยวข้องกับการต่อเวลาพิเศษเอาไว้  หรือการดำเนินการอื่น ๆ ที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติรับรอง เพื่อหาทีมที่ชนะในการแข่งขันครั้งนั้น

การเตะโทษ

(Free Kicks)

ประเภทของการเตะโทษ (Type of Free Kick)

การเตะโทษมีทั้งโทษโดยตรง (Direct) และโทษโดยอ้อม (Indirect)
ในการเตะโทษทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ในขณะที่เตะลูกบอลต้องตั้งวางนิ่งอยู่กับที่และผู้เตะต้องไม่สัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่         สองก่อนที่จะถูกสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน

การเตะโทษโดยตรง (Direct Free Kick)

1.  ถ้าเตะโดยตรง เตะทีเดียวเข้าประตูของฝ่ายตรงข้ามโดยตรงจะถือว่าเป็นประตุ
2.  ถ้าเตะโทษโดยตรง เตะทีเดียวเข้าประตูของตนเองโดยตรงจะให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะจากมุม

การเตะโทษโดยอ้อม (Indirect Free Kick)

สัญญาณ (Signal)
           
     ผู้ตัดสินจะแสดงสัญญาณการเตะโทษโดยอ้อมโดยการยกแขนชูขึ้นเหนือศีรษะ เขายังต้องยกแขนค้างไว้ในตำแหน่งนั้นจนกว่าได้ทำการเตะไปแล้วและลูกบอลถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่น ๆ ก่อน หรือ ได้ออกนอกการเล่นไปแล้ว

การเตะจากมุม

(The Corner Kick)

การเตะจากมุมเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการเริ่มเล่นใหม่ สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะจากมุม  แต่ต้องทำประตูฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น

การให้เตะจากมุม
      เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านออกเส้นประตูไปทั้งบนพื้นดินหรือในอากาศโดยผู้เล่นฝ่ายรับเป็นผู้สัมผัสลูกคนสุดท้าย  และไม่ใช่เป็นการทำประตูตามเงื่อนไขของกติกาข้อ 10

ขั้นตอนในการดำเนินการ (Procdure)

1.  ลูกบอลจะถูกวางไว้ภายในส่วนโค้งที่มุมให้ใกล้กับเสาธงสนามมากที่สุด
2.  ต้องไม่เคลื่อนย้ายเสาธงมุมสนาม
3.  ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างจากลูกบอลอย่างน้อย 9.15 เมตร (10  หลา) จนกว่าลูกบอลจะอยู่ในการเล่น
4.  ลูกบอลจะถูกเตะโดยผู้เล่นคนหนึ่งเป็นฝ่ายรุก
 5.  ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปแล้ว
 6.  ผู้เตะต้องไม่เล่นลูกบอลเป็นครั้งที่สองจนกว่าจะสัมผัสโดยผู้เล่นคนอื่น ๆ ก่อน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น